วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

เศรษฐกิจและสังคมในสมัยสุโขทัย

       สุโขทัยเป็นสังคมเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ทำมาหากินด้านการเกษตร เช่นทำนา ทำไร่ ทำสวน สุโขทัยยังมีการจัดทำระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร โดยได้ขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้และทำท่อดินเผาชักน้ำเข้ามาใช้ในตัวเมือง

                                          ทำนบพระร่วงหรือสรีดภงค์ ระบบชลประทานในสมัยสุโขทัย
              
          นอกจากเกษตรกรรมแล้ว อาชีพสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการค้าขาย โดยมีทั้งการค้าในเมืองสุโขทัยเอง การค้ากับเมืองที่อยู่ใกล้เคียง เช่นมอญ และการค้ากับดินแดนห่างไกล เช่น จีน สินค้าที่ค้าขายมีหลายอย่าง เช่น ของป่า สัตว์ป่าต่าง ๆ และทางการยังสนับสนุนให้มีการค้าขายโดยไม่เก็บภาษีผ่านด่านแก่พ่อค้าที่จะเข้ามาค้าขายที่สุโขทัย ดังมีจารึกอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่ เอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจังใคร่ค้าม้าค้า ใคร่จักค้าม้าค้า ..."           สุโขทัยมีการผลิตถ้วยชาม สังคโลก เพื่อใช้ภายในดินแดน และส่งไปขายยังเพื่อนบ้านใกล้เคียง มีเตาเผาสังคโลกมากมายในบริเวณเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย



เตาทุเรียง บ้านเกาะน้อย ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
               
          เมื่ออาณาจักรอยุธยาซึ่งเป็นอาณาจักรของคนไทยอีกแห่งหนึ่งเข้มแข็งขึ้นมา ได้รวมเอาสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร ใน พ.ศ.๒๐๐๖ แต่ความเจริญทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น อักษรไทย พระพุทธศาสนา ศิลปกรรมของสุโขทัยได้สืบทอดมาถึงสมัยอยุธยาและสมัยปัจจุบันนี้ ที่สำคัญคือ ภาษาไทย ศิลปกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี ต่าง ๆ


                                                        ประเพณีลอยกระทง สุโขทัย



แหล่งที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/17946

บทความที่เกี่ยวข้อง
 - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

ประติมากรรม สมัยอู่ทองและอยุทยาตอนต้น

อู่ทองและอยุธยายุคต้น
          อู่ทองและอยุธยายุคต้น ในยุคนี้มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะผสมผสานพระพุทธรูปสมัยทวารวดี สมัยลพบุรี และศิลปะของชนพื้นเมืองอโยธยาเอง มีพุทธลักษณะเด่นชัดคือวงพระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยม มีไรพระศกเป็นกรอบวงพักตร์พระหนุป้านเป็นรูปคางคน พระนาสิกเป็นสันคม พระขนงชัดเจนเป็นเส้นกระด้างคล้ายปีกนกบรรจบกัน  ปริมาตรของพระพักตร์ดูแบนขมวดพระเกศามีขนาดเล็กเป็นจุด พระรัศมีมีทั้งทำอย่างเป็นต่อมและทำเป็นเปลว ผ้าครองทำชายสังฆาฏิยาวนิยมนั่งขัดสมาธิราบ ฐานหน้ากระดานเป็นร่องและแอ่นเข้าข้างใน เนื้อโลหะสำริดหล่อได้บางเป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปสลักศิลา เช่น พระพุทธรูปที่พระระเบียงวัดมหาธาตุ ลพบุรี พระพุทธรูปที่วิหารหน้าสถูปใหญ่วัดนครโกษา ลพบุรี และพระพุทธรูปที่วัดใหญ่ชัยมงคล  อยุธยา เป็นต้น

          ภาพสลักศิลาและภาพปูนปั้นต่างๆ ลักษณะลายเป็นแบบประดิษฐ์มากกว่าสมัยลพบุรี  ลายสลักศิลารอบฐานชุกชีในพระวิหารใหญ่หน้าพระปรางค์วัดมหาธาตุ อยุธยา เป็นลายขมวดเถาไม้ใบไม้ กลีบบัว ลวดลายยังเป็นแบบกึ่งประดิษฐ์กึ่งธรรมชาติ ยังไม่เข้ารูปเป็นลายกนกเลยทีเดียว
 

การศึกษาภูมิจักรวาลจากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในเขต กรุงเทพมหานคร

การศึกษาภูมิจักรวาลจากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในเขต กรุงเทพมหานคร

การศึกษานี้ทำให้ได้ข้อสันนิษฐานว่าจิตรกรรมฝาผนังภาพภูมิจักรวาลในสมัยรัตนโกสินทร์ น่าจะเป็น
ภาพขยายสภาวการณ์ในช่วงขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงเจริญพระญาณ และทรงเข้าสู่ห้วงเวลาแห่งการตรัสรู้
โดยมีภาพจักรวาลแสดงถึงสาระของสิ่งที่ตรัสรู้   รวมทั้งยังแสดงสภาวะการอยู่เหนือจักรวาล และความเป็นศูนย์
กลางของจักรวาลของพระองค์ในเวลาเดียวกัน จากการศึกษาเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ พบว่าแบบแผนการวาด
ลักษณะนี้พบในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเท่านั้น และเสื่อมคลายลง ทั้งทางด้านความหมายและรูปแบบตั้งแต่
สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นไป เนื่องจากได้รับอิทธิพลความรู้แบบวิทยาศาสตร์

ที่มา วิไลรัตน์ ยังรอต. การศึกษาภาพภูมิจักรวาลจากภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในเขต
กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540. (ND 2835.ฮ9ก4ว65)
จิตรกรรมสมัยอยุธยา
จิตรกรรมสมัยอยุธยา คือจิตรกรรมไทยประเพณีที่มีอายุเริ่มตั้งแต่การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ขึ้นเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 จนถึง พ.ศ. 2310 ลักษณะงานมีรูปแบบ องค์ประกอบ เทคนิค และ
วัฒนธรรม ตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณีภาคกลางที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย จีน เขมร และอิทธิพล
ของศิลปไทยยุคก่อนกรุงศรีอยุธยา ในระยะแรกใช้สีในวรรณะเอกรงค์ ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับต่าง
ประเทศ ทำให้มีสีต่างๆ เพิ่มเข้ามา นิยมเขียนเรื่องอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก เทพชุมนุมและ
ภาพลวดลายต่างๆ ปิดทองที่ภาพสำคัญและทำลายดอกไม้ร่วงที่พื้นหลังภาพ สถานที่ตั้งจิตรกรรมส่วน
ใหญ่พบที่อุโบสถ ปรางค์ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร กุฏิ ตู้พระธรรม สมุดข่อย และพระบฏ


ที่มา วรรณิภา ณ สงขลา. จิตรกรรมสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ : ฝ่ายอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและ
ประติมากรรมติดที่ กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2535. (ND2552.ว457)