วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

จิตรกรรมสมัยอยุธยา
จิตรกรรมสมัยอยุธยา คือจิตรกรรมไทยประเพณีที่มีอายุเริ่มตั้งแต่การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ขึ้นเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 จนถึง พ.ศ. 2310 ลักษณะงานมีรูปแบบ องค์ประกอบ เทคนิค และ
วัฒนธรรม ตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณีภาคกลางที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย จีน เขมร และอิทธิพล
ของศิลปไทยยุคก่อนกรุงศรีอยุธยา ในระยะแรกใช้สีในวรรณะเอกรงค์ ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับต่าง
ประเทศ ทำให้มีสีต่างๆ เพิ่มเข้ามา นิยมเขียนเรื่องอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก เทพชุมนุมและ
ภาพลวดลายต่างๆ ปิดทองที่ภาพสำคัญและทำลายดอกไม้ร่วงที่พื้นหลังภาพ สถานที่ตั้งจิตรกรรมส่วน
ใหญ่พบที่อุโบสถ ปรางค์ วิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร กุฏิ ตู้พระธรรม สมุดข่อย และพระบฏ


ที่มา วรรณิภา ณ สงขลา. จิตรกรรมสมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ : ฝ่ายอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและ
ประติมากรรมติดที่ กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2535. (ND2552.ว457)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น